อาการผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายทำงานผิดปกติจึงเกิดการทำลายรูขุมขนและทำให้ผมร่วงในที่สุด ในปัจจุบันวิธีรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อมมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่รักษาได้เพียงชั่วคราว และเป็นการรักษาที่ต่อเนื่องเท่านั้น
ซึ่งอาการผมร่วงเป็นหย่อมเป็นโรคที่ไม่สามารถ “รักษาให้หายขาด” ได้ แต่การปลูกผมก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม และดูมีความเป็นไปได้ในการรักษา หากอาการหลุดร่วงยังไม่ถึงขั้นลุกลามไปทั่วศีรษะ โดยเฉพาะการปลูกผมด้วยวิธี FUE เป็นเทคนิคที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเลือกเส้นผมที่มีความแข็งแรงตามที่ต้องการนำมาปลูกถ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเย็บแผล เป็นวิธีทำให้เกิดรอยแผลเป็นน้อยที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม หากอาการผมร่วงที่คนไข้เผชิญอยู่มีอาการรุนแรง และลุกลาม การปลูกผมก็มีความเสี่ยงที่เส้นผมจะหลุดร่วงอีกครั้งได้ทุกเมื่อเช่นกัน
————————————–
DHT Hair Clinic ปลูกผมโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผม ได้รับอเมริกันบอร์ด (American Board of Hair Restoration Surgery), Fellowship Training Program ของสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (International Society of Hair Restoration Surgery, ISHRS)
สำหรับใครที่มีปัญหาเส้นผม สามารถนัดคิวเข้ามาปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการประเมิน และออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลได้เลยนะคะ
โทรศัพท์นัดคิวปรึกษาได้ที่
Tel : 02 619 0351
ป้ายกำกับ: หัวล้าน
“ผู้ชาย” กับ “ผู้หญิง” ศีรษะล้านต่างกันยังไง
ผู้ชาย
ลักษณะศีรษะล้านของผู้ชายเกิดได้หลายแบบ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของคน ๆ นั้นไปเลยก็มี ซึ่งคนโบราณแบ่งลักษณะศีรษะล้านไว้ 7 ประเภท คือ
1. ทุ่งหมาหลง – จะมีผลเฉพาะด้านข้างและตีนผมด้านหลังเท่านั้น
2. ดงช้างข้าม – ศีรษะล้านเป็นทางจากหน้าปากไปถึงเกือบท้ายทอย
3. ง่ามเทโพ – ศีรษะจะล้านเข้าไปทั้งสองข้างบริเวณหน้าผาก
4. ชะโดตีแปลง – ศีรษะล้านกลางกระหม่อม
5. แร้งกระพือปีก – คล้าย ๆ ง่ามเทโพ แต่เถิกลึกเข้าไปจนโอบรอบกระหม่อมและบรรจบกัน
6. ฉีกขวานฟาด – คล้ายกับทุ่งหมาหลงแต่บริเวณด้านบนศีรษะยังคนมีเส้นผมบาง ๆ อยู่
เพศหญิง
ลักษณะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านของผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มจากบริเวณกลางศีษะ ส่วนผมด้านหน้าจะไม่ถอยร่นจนหน้าผากเถิกเหมือนของผู้ชาย แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1. ผมบางจะเริ่มจากบริเวณรอยแสกของเส้นผม
2. ผมบางมากขึ้นจนเห็นหนังศีรษะเป็นพื้นที่กว้าง
3. ผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะชัดเจนเป็นวงกว้าง
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด
ผู้หญิงที่มีปัญหาผมร่วงจะเริ่มจากบริเวณรอยแสกของผม และค่อย ๆ บางลงแบบขยายวงกว้าง ส่วนผู้ชายจะเริ่มถอยร่นจากบริเวณหน้าผาก และบริเวณกลางศีรษะและมีโอกาสที่จะล้านได้ทั้งหมด
ใส่หมวกบ่อย หัวล้าน จริงหรือ?
หลายคนคงเคยได้ยินว่า “ ใส่หมวกบ่อยระวังหัวล้านนะ” และคงสงสัยว่ามันเป็นจริงหรือ ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก !
.
การใส่หมวกบ่อยไม่ได้เป็นสาเหตุของหัวล้านแต่อย่างใด !! แต่สาเหตุที่แท้จริงของหัวล้านคือ พันธุกรรมในครอบครัว เช่น มีพ่อ แม่ ปู่ย่า ตา ยายมีภาวะผมบาง ศีรษะล้าน
.
และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ของหัวล้านที่พบได้อาจแบ่งได้เป็นโรคผมร่วงที่มีแผลเป็น (scarring alopecia) และโรคผมร่วงที่ไม่มีแผลเป็นอื่น ๆ เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata), โรคผมผลัด (telogen effluvium)
.
ที่สำคัญความอับชื้นจากเหงื่อ การหมักหมมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราจากการใส่หมวกเป็นเวลานานนั้นไม่ได้เป็นสาเหตุของหัวล้านอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจผิดกันอยู่
.
หากท่านใดเริ่มมีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด