การสักหนังศีรษะกลบรอยแผลเป็น คืออะไร ?

Scalp MicroPigmentation (SMP) หรือรู้จักกันในชื่อ “การสักศีรษะ” โดยใช้เครื่องมือเข็มและสีที่ผลิตมาสำหรับการสักบนหนังศีรษะโดยเฉพาะ *ซึ่งเข็มที่ใช้ในการสักจะใช้เพียงครั้งเดียวและทิ้ง ไม่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำ 

สำหรับวิธีการสัก แพทย์จะทำการฝังสีลงบนหนังศีรษะ เป็นจุดเล็กหลาย ๆ จุดเพื่อเลียนแบบรากผม ทำให้มองดูคล้ายกับตอผมจริง ๆ ตามธรรมชาติ สีที่ทำการสักลงไปนั้น จะสามารถคงทน ติดอยู่บนหนังศีรษะได้นานประมาณ 2 – 5 ปี  *หากสีจางลงจะต้องกลับมาสักศีรษะเพิ่มเติม 

สามารถสักในกรณีไหนได้บ้าง ? 

1. สามารถทำได้ในผู้ที่มีแผลเป็นบริเวณศีรษะด้านหลัง ที่เกิดจากการย้ายรากผมออกไปเพื่อทำการปลูกผม ทั้งเทคนิค FUT และ FUE 

2. สำหรับผู้ที่มีผมบางหรือสักทั่วหนังศีรษะได้ 

รู้หรือไม่ ? เครา ก็สามารถนำมาปลูกผมได้ !!

โดยทั่วไปแพทย์จะเลือกใช้ผมบริเวณท้ายทอยหรือด้านข้างของศีรษะในการปลูกผม แต่ในกรณีที่ผมบริเวณนั้นมีไม่เพียงพอ หรือไม่แข็งแรงพอ เราสามารถนำเส้นขนจากบริเวณอื่นมาปลูกร่วมกับผมจากบริเวณศีรษะได้ เช่น ขนเครา ขนหน้าอก เป็นต้น 

และหลักการในการปลูกผมด้วยขนเคราคือแพทย์จะเลือกใช้การย้ายเซลล์รากผมด้วยเทคนิค FUE ซึ่งเป็นการเจาะเอารากขนเคราออกมาและนำไปปลูกบริเวณที่เกิดปัญหาผมร่วง/ผมบาง เทคนิคนี้จะทำให้เกิดรอยแผลบริเวณเคราเป็นจุด ๆ เล็กน้อย 

ข้อดีของการปลูกผมด้วยขนเครา คือ ขนเคราสามารถยาวได้เหมือนเส้นผม เนื่องจากระยะการเจริญเติบโตของขนใกล้เคียงกับผมขนศีรษะ

ผมร่วง ขนาดไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

ต้องบอกก่อนว่าผมร่วงถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ วัน เพราะเส้นผมของเรามีวงจรชีวิตที่ผลัดเปลี่ยนอยู่เสมอ และเมื่อเส้นผมเข้าสู่ระยะพักก็จะหลุดร่วงไปตามธรรมชาติ และก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าเกิดร่วงมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของอาการบางอย่างที่กำลังจะตามมาก็ได้ แล้วผมร่วงขนาดไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

สังเกตได้ดังนี้ 

– ผมร่วงแล้วไม่เกิดการงอกใหม่ 

– ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ 

– ผมร่วงแล้วผมขึ้นใหม่เส้นเล็ก / บางลงกว่าเดิม 

– ผมร่วงประมาณมากกว่า 100 เส้นต่อวัน หรือ 200 เส้นในวันที่สระผม อาจเข้าข่ายผู้มีอาการผมร่วงผิดปกติ 

หลังปลูกผม อยากสระผม…ได้หรือไม่ ?

คำแนะนำก็คือหลังจากการปลูกผมสามารถ “สระผมได้เลยในวันรุ่งขึ้น” แต่ควรสระผมด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง หากใช้ฝักบัวก็ให้ใช้แรงดันน้ำที่ไม่แรง ค่อย ๆ ราดบนศีรษะเบา ๆ และปล่อยผมให้แห้งเอง หรือใช้ผ้าเช็ดตัวค่อย ๆ แตะเบา ๆ ได้ 

จะเห็นได้ว่าหลังการปลูกผม สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติได้เลยแต่อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาผมที่พึ่งปลูกมาเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะผมใหม่จะขึ้นหรือไม่ขึ้นก็ขึ้นอยู่กับช่วงนี้ ดังนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Q&A : การผ่าตัดปลูกผมเจ็บไหม?

นพ.ภาสุร์ (คุณหมอโอ๊ต) : การผ่าตัดปลูกผมจะใช้การฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บบริเวณศีรษะ (อาจมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยระหว่างเริ่มฉีดยา) และรับประทานยานอนหลับเพื่อให้รู้สึกง่วงและผ่อนคลาย เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ยาวนาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะนอนหลับ พักไปในระหว่างการผ่าตัดแต่ไม่ถึงกับสลบโดยจะยังสามารถมีความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา

ทำไมผู้ชายหัวล้านหนักกว่าผู้หญิง?

หลายท่านคงคิดว่าผู้ชายมีโอกาสหัวล้านมากกว่าผู้หญิง แต่ในความเป็นจริงนั้นมีโอกาสผมร่วง, ผมบาง จนนำไปสู่ปัญหาหัวล้านได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ที่ผู้ชายมีโอกาสมากกว่าเพราะตัวฮอร์โมนเพศของเพศชาย

สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ชายมีโอกาสผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน นั่นก็คือ “กรรมพันธุ์หรือยีนส์ศีรษะล้าน” ที่ถูกถ่ายทอดมาจากบุคคลในครอบครัว และอีกหนึ่งสาเหตุคือ “ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน” ซึ่งฮอร์โมนนี้มีอยู่ในกระแสเลือดทั่วร่างกายและศีรษะ และปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อเป็น DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งจะมีอยู่ในเซลล์เส้นผมทำให้การสร้างเส้นผมที่ขึ้นมาใหม่มีขนาดเล็กลงในที่สุด 

ทำไมผู้ชายบางคนหัวไม่ล้าน ทั้งๆที่ฮอร์โมนเหมือนกัน สาเหตุที่แท้จริงก็คือต้องมีครบทั้ง 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ยีนส์ศีรษะล้านและฮอร์โมนเพศชาย

หัวล้านรักษาได้ ด้วยยาลดระดับฮอร์โมนเพศชายหรือการใช้ยาทา, ยารับประทาน และการผ่าตัดปลูกผมซึ่งในปัจจุบันมีเทคนิคการรักษาที่เห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน ได้แก่ การผ่าตัดหนังศีรษะ (FUT) และการเจาะรากผม (FUE) หลังจากทำการปลูกผมเป็นที่เรียบร้อยผมจะขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ 

ดูแลเส้นผมของคนทั่วไป VS การดูแลเส้นผมสำหรับผู้สูงอายุ

การดูแลสุขภาพเส้นผมไม่ต่างกับการดูแลสุขภาพร่างกายตามอายุที่ถดถอยมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าการดูแลเส้นผมของคนทั่วไปมีความแตกต่างกับผู้สูงอายุ การดูแลเส้นผมด้วยวิธีปกติบางอย่างอาจต้องลดลงหรือบางอย่างอาจจะต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น แล้วความต่างนั้นมีอะไรกันบ้าง

การเลือกใช้แชมพู

คนทั่วไป : การเลือกใช้แชมพูที่เหมาะกับสภาพเส้นผมของเราเป็นเรื่องที่สำคัญ การเลือกแชมพูของคนวัยทั่วไปมีตัวเลือกหลากหลายเพราะในวัยเด็กถึงช่วงกลางคนระยะการเจริญเติบโตของเเส้นผมมีมากกว่า 90% ในช่วงวัยนี้จะมีผมที่หนาแน่นดูดกดำและคงที่ 

ผู้สูงอายุ : กลับมีข้อจำกัดเพราะสภาพเส้นผมที่เสื่อมตามอายุควรเลือกแชมพูที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายหรือเลือกแชมพูสูตรอ่อน การอ่านฉลากข้างขวดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

การสระผม

คนทั่วไป : คนที่มีหนังศีรษะปกติควรสระผมสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง และใช้ครีมนวดผมเพื่อบำรุงผมป้องกันปัญหาผมแตกปลายโดยเฉพาะคนที่ไว้ผมยาว 

ผู้สูงอายุ : ไม่แตกต่างกันอย่างน้อยควรสระผมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ไม่ควรไว้ผมยาวควรตัดผมให้สั้น เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล

การเลือกอาหารเพื่อบำรุงเส้นผม

คนทั่วไป : การเลือกทานอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดูแลเส้นผมเพราะสารอาหารเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อเส้นผม ในวัยของคนทั่วไปการทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมหลักๆควรมีโปรตีน วิตามินบี แคลเซียมหรือแร่ธาตุต่างๆเพื่อให้ผมมีความแข็งแรงและเงา แต่ส่วนใหญ่สุขภาพเส้นผมในช่วงวัยทั่วไปมักจะพบปัญหามาจากการใช้ชีวิตทั้งความเครียดรวมไปถึงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและเส้นผม 

ผู้สูงอายุ : อาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุต้องเป็นสารอาหารที่มีเป็นประโยชน์ในการป้องกันผมร่วง และช่วยบำรุงให้เส้นผมแข็งแรงไม่หงอกขาวเร็ว ควรเลือกทานอาหารที่มีแร่ธาตุเหล็ก, วิตามิน D, วิตามิน C, ไบโอติน และไรโบฟลาวิน เป็นต้น

อาการหลังปลูกผมไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

อาการและผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหลังรักษาหรือผ่าตัด อาการหลังจากปลูกผมเองก็เช่นกัน อาจมีหลายอย่างส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพียงอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นและหายได้ด้วยตัวเอง ถ้าเกิดอาการที่ผิดปกติควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อเส้นผมส่วนอื่น ๆ ได้

1.อาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน

เป็นอาการที่ทุกคนอาจพบเจอได้หลังจากปลูกผม เป็นผลข้างเคียงของการฉีดยาชา ยานอนหลับ เพราะเนื่องจากการผ่าตัดใช้เวลาค่อนข้างนานขึ้นอยู่กับจำนวนและความยากง่ายของกราฟท์ที่ปลูกผม แต่อาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราวและจะค่อยๆหายไปเองขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณของยาที่ได้รับและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

2.อาการ SHOCK LOSS

อาการ SHOCK LOSS สาเหตุมาจากการกระทบกระเทือนรากผมจากการปลูกเจาะหรือบริเวณแผลผ่าตัด มีลักษณะผมร่วงเป็นหย่อมบริเวณใกล้เคียง บางส่วนร่วงไปหลังผ่าตัดประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ แม้จะทำให้ผมร่วง แต่ก็สามารถพบได้เพียง 20 – 30% สิ่งที่ร่วงไปนั้นเป็นเพียงแค่ตัวเส้นผมเท่านั้น ส่วนรากผมที่ทำหน้าที่สร้างผมไม่ได้หลุดออกไปด้วย และจะใช้เวลาพักประมาณ 3 – 4 เดือนหลังจากนั้นผมจะงอกใหม่และจะขึ้นเต็มบริเวณแบบปกติในที่สุด

3.อาการคัน ปวด หรือบวม

เป็นช่วงที่แผลเริ่มสมานกราฟท์เริ่มติด ทำให้เกิดสะเก็ดและคันตามมา ห้ามเกาหรือแกะสะเก็ดออกเด็ดขาดภายใน 7 วันแรก เพราะกราฟท์ผมจะหลุดออกไปด้วย หากมีอาการคันควรลูบเบาๆ และทายาบริเวณที่รู้สึกคันเพื่อลดอาการคัน อาการปวดควรทานยาแก้ปวดที่แพทย์จ่ายให้ ส่วนอาการบวมอาจพบได้ตั้งแต่วันที่ 2 และจะลดลงเองภายใน 7 วัน

4.อาการสิวขึ้นและรอยแดง

สิวอาจเกิดขึ้นบริเวณที่ปลูกผมเป็นผลมาจากการอักเสบเล็กน้อยหลังปลูกผม สามารถบีบออกเบาๆได้แล้วทายาแก้สิวได้ ข้อควรระวังคือไม่ให้โดนกราฟท์ผม หากเป็นสิวจำนวนมาก ควรมาพบแพทบ์ที่คลินิกเพื่อทำการรักษา

5.อาการเลือดออกหรือซึมบริเวณที่ปลูกผม

เป็นอาการปกติที่พบหลังปลูกผมเสร็จใหม่ๆ เลือดจะหยุดซึมไปเองไม่เกิน 4 – 5 นาที สามารถใช้ผ้าก๊อซสะอาดกดไว้ที่แผลเพื่อหยุดเลือดได้ ถ้าเกิดเลือดซึมไม่หยุดให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที

6.อาการแผลอักเสบ

หากบริเวณแผลมีอาการบวมหรือแดงมากกว่าปกติ สัมผัสแล้วรู้สึกเจ็บ มีหนอง ให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที

ทำสิ่งนี้ #หลังปลูกผม ช่วยทำให้การปลูกผมเห็นผลดียิ่งขึ้น

1. งดดื่มแอลกอฮอล์ และลดการสูบบุหรี่ ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบเลือด อาจส่งผลกระทบต่อการปลูกผมได้

2. งดออกกำลังกายหนัก 2 สัปดาห์ สิ่งนี้เป็นข้อห้ามที่สำคัญมาก เพราะหากร่างกายได้รับการกระทบกระเทือนมากเกินไป กราฟผมมีโอกาสหลุดออกมาได้ นอกจากนี้ยังทำให้แผลบวมมากขึ้น

3. งดว่ายน้ำ และซาวน่าเป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลได้

4. สัปดาห์แรก ใช้น้ำอุณหภูมิห้อง และแชมพูสระผมอ่อน ๆ เพื่อไม่ให้กระทบบริเวณที่ปลูกผม หลังจากนั้นสามารถสระผมได้ตามปกติหลังปลูกผม 1 เดือน สามารถใช้เจล หรือมูสตกแต่งผมได้หลังจากปลูกผม 1 สัปดาห์ แต่ระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล

5. เลี่ยงการตากแดดเป็นเวลานาน ๆ หากจำเป็นต้องตากแดดจริง ๆ ควรใส่หมวด หรือหาผ้านำมาคลุมศีรษะ

6. หลังจากผ่าตัดไม่ควรจับ แกะ และเกาบริเวณแผลภายใน 1 สัปดาห์แรกหลังปลูกผม เพราะกราฟผมยังไม่เชื่อมกันสนิท การที่ทำแบบนี้อาจทำให้กราฟผมหลุดออกมาได้

ผมร่วงเป็นหย่อม คืออะไร?

ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) มักจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเพราะไม่มีสัญญาณเตือนทั้งสิ้น ไม่คัน ไม่ระคายเคือง แถมหนังศีรษะยังเป็นปกติอีก รู้ตัวอีกทีก็คือผมร่วงจนเห็นหนังศีรษะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผมร่วงเป็นหย่อมมีปัจจัยเสี่ยงจากอะไรได้บ้าง

1. ความเครียดสะสม อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติได้

2. คนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน

3. อาจพบรวมกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 1, โรคเกี่ยวกับไทรอยด์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรค SLE, โรคด่างขาว

แต่สาเหตุที่แน่ชัดนั้นในปัจจุบันยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน ในทางพยาธิวิทยาจะพบมีการอักเสบที่รากผมใต้ผิวหนังในบริเวณที่เกิดผมร่วง

ผมร่วงเป็นหย่อมมีปัจจัยเสี่ยงจากอะไรได้บ้าง

– ผมร่วงเป็นวงขนาดประมาณเหรียญสิบ จะมีวงเดียว หรือหลายวงกระจายทั่วศีรษะ

– บริเวณผมร่วงจะไม่แดง ไม่มีขุย จะเหมือนลักษณะศีรษะปกติ อาจมีอาการคันร่วมด้วยเล็กน้อย

– อาจจะมีผมร่วงบริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น หนวด เครา จอน หรือขนในส่วนอื่น ๆ

– บริเวณรอบ ๆ หย่อมผมที่ร่วงไป มีลักษณะเป็นตอสั้น